วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สรุปการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม


การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

                อ่า...ถ้าพูดถึงเรื่องนี้ผมก็จะนึกถึงคนที่ชื่อว่า เกรเกอร์ โยฮัน เมนเดล ผู้ซึ่งค้นพบกฎการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม เมนเดลได้เริ่มต้นทดลองผสมพันธ์ถั่วลันเตาลักษณะต่างๆ จนในที่สุดเมนเดลก็ได้ถั่วลันเตาลักษณะต่างกันมากมาย โดยลักษณะพวกนั้นจะแบ่งเป็น ลักษณะเด่น (dominant trait) เช่น ต้นสูง โดยมียีนเด่น (dominant gene) ควบคุม และลักษณะด้อย (recessive trait) เช่น ต้นเตี้ย โดยมียีนด้อย (recessive gene) ควบคุม เมื่อเรานำทั้งสองลักษณะมาผสมพันธ์กันในรุ่นพ่อแม่ จะมีเพียงลักษณะเดียวเท่านั้นที่แสดงออกมาในรุ่นลูก เรามักจะนิยมให้อักษรตัวใหญ่แทนยีนเด่น เช่น ต้นสูง(T) และอักษรตัวเล็กแทนยีนด้อย เช่น ต้นเตี้ย(t) โดยยีนแต่ละยีนจะอยู่ตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ บนโครโมโซม (homologous chromosome) ยีนที่อยู่ด้วยกันเป็นคู่นิยมเขียนเป็นสัญลักษณ์ เรียกว่า จีโนไทป์ (genotype) โดยมีอัตราส่วน เด่น:ด้อย เป็น 3:1 ลักษณะที่ปรากฏเป็นการแสดงออกของยีน เรียกว่า ฟีโนไทป์ (phenotype) แล้วก็สภาพที่มียีน 2 ยีนที่เหมือนกัน เช่น TT และ tt เรียกว่า ฮอมอไซกัสจีโนไทป์ (homozygous genotype) จีโนไทป์มียีนเด่นทั้งหมด เรียกว่า ฮอมอไซกัสโดมิแนนท์ (homozygous dominant) และจีโนไทป์มียีนด้อยทั้งหมด เรียกว่า ฮอมอไซกัสรีเซสสีพ (homozygous recessive) น่าจะประมาณนี้ครับ สำหรับในด้านคำนวณก็จะมี 2 กฎหลักๆ คือ กฎของผลคูณและกฎของผลบวก ผมชอบมากเพราะใช้ความน่าจะเป็นกำกับ

                เมนเดลเค้าก็ไม่ได้พูดถูกไปซะทั้งหมด ยังมีลักษณะที่นอกเหนือจากกฎของเมนเดลด้วย คือ ลักษณะเด่นไม่สมบูรณ์ คือจะมีทั้งเด่นทั้งด้อยแสดงออกมาแต่เด่นจะมากกว่า ต่อมาคือการข่มร่วมกันก็จะเป็นแบว่าเหมือนกับหมู่เลือดอะนะ พ่อ A แต่งกับ แม่ B ลูกออกมาดัน AB ประมาณนี้ครับ มัลติเปิลแอลลีนคือยีนที่มีมากกว่า 2 แอลลีน ใน 1 โลคัส แล้วก็พอลิยีน ยกตัวอย่าง ผสมเมล็ดข้าวสีแดง (ยีนเด่น) กับเมล็ดข้าวสีขาว (ยีนด้อย) ในส่วนนี้ลูกออกมาอาจจะมีความเข้มของสีแดงแตกต่างกันตามจำนวนยีนเด่น

ยีนในโครโมโซมเพศก็ ชาย XY หญิง XX คนเราหลีกเลี่ยงจากโรคภัยไข้เจ็บไม่ได้อยู่แล้วขนาดโครโมโซมยังมีโอกาสผิดปกติได้ เช่น โรคฮีโมฟีเลีย โรคภาวะพร่องเอนไซม์ เป็นต้น ยีนในโครโมโซมเดียวกัน (linkage group) คือกลุ่มของยีนที่อยู่บนโครโมโซมเดียวกัน มีแนวโน้มที่จะถ่ายทอดไปพร้อมๆกัน สุดท้ายนี้อยากบอกว่า ลักษณะทางพันธุกรรมที่แสดงออกเฉพาะเพศใดเพศหนึ่งเรียกว่า พันธุกรรมจำกัดเพศ (sex limited traits).......จบคร้าบบบบบ ^ ^

ชื่อ นายสุรดิษฐ์  ประชามาตย์  ม.6/12  เลขที่ 2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น