วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

สรุปพันธุศาสตร์และเทคโนโลยี DNA


พันธุศาสตร์และเทคโนโลยี DNA

เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อทำให้สิ่งมีชีวิต หรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตให้มีสมบัติตามต้องการเพื่อประโยชน์แก่มวลมนุษย์ โดยสามารถใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น ด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการแพทย์

พันธุวิศวกรรม หมายถึง การตัดต่อยีนจากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง เพื่อให้แสดงลักษณะทางพันธุกรรมที่ต้องการออกมาได้ โดยเป็นการนำเอาเทคโนโลยีมาทำการเคลื่อนย้ายยีน (Gene) สิ่งมีชีวิตสายพันธุ์หนึ่งไปสู่สิ่งมีชีวิตอีกสายพันธุ์หนึ่ง เพื่อสร้างสิ่งมีชีวิตรูปแบบใหม่ โดยอาศัยเทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรม โดยการใช้เทคโนโลยีการตัดต่อ DNA ที่มาจากสายต้นแบบโดยอาศัยเอนไซม์ตัดจำเพาะ แล้วเชื่อมต่อ DNA เข้าไปในพาหะ ทำให้ได้ DNA โมเลกุลใหม่ที่ใส่เข้ากับ DNA พาหะ หรือ เวกเตอร์ (Vector) และต่อมา พ.ศ. 2516 เอส โคเฮน (S. Cohen) ได้ประสบความสำเร็จในการเชื่อมต่อ DNA ของสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน แต่ถูกตัดด้วยเอนไซม์ชนิดเดียวกัน เข้าเป็น DNA โมเลกุลเดียวกันทำให้เกิด DNA ใหม่ที่เรียกว่า DNA สายผสม(Recombinant DNA) โดยสิ่งมีชีวิตที่ได้จากกระบวนการทางพันธุวิศวกรรมเรียกว่า สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม หรือ GMOs(genetically modified organisms) การเพิ่มจำนวนของ DNA สายผามเพื่อประหยัดเวลาและงบประมาณรียกว่าการโคลน            การโคลน DNA เป็นการเพิ่มจำนวน DNA สายผสมให้มากขึ้น แต่ถ้าหากบริเวณดังกล่าวเป็นยีน เรียกว่า การโคลนยีน ซึ่งจะการโคลนยีนโดยอาศัยพลาสมิดของ Bacteria และการโคลนยีนในหลอดทดลองโดยเทคนิค Polymerase chain reaction : PCR

โคลนยีน ซึ่งจะการโคลนยีนโดยอาศัยพลาสมิดของ Bacteria และการโคลนยีนในหลอดทดลองโดยเทคนิค Polymerase chain reaction : PCR การวิเคราะห์ DNA และการศึกษา Genome ซึ่งการศึกษา DNA ด้วย Gel electrophoresis เป็นการแยกสารพันธุกรรม โดยกระแสไฟฟ้า โมเลกุลที่มีประจุเหมือนกันจะเคลื่อนรวดเร็วแตกต่างกัน โดยโมเลกุลใหญ่จะเคลื่อนที่ได้ช้ากว่าโมเลกุลที่มีขนาดเล็ก ซึ่งจะทำให้ระบุได้ว่า DNA แต่ละชิ้นมีขนาดใด ส่วน Genome นั้น คือข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดที่จำเป็นใช้ในการสร้างและจำเป็นต่อการดำรงชีวิต หรือ เรียกว่า แบบพิมพ์เขียวของสิ่งมีชีวิต

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของ DNA จะมี การใช้ด้านกระบวนการนิติศาสตร์ โดยการใช้พิสูจน์บุคคล โดยใช้ลายพิมพ์ DNA การใช้ด้านยีนบำบัดเมีย การใช้ด้านเภสัชกรรม ใช้สร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรม
นายสุรดิษฐ์ ประชามาตย์ ชั้น ม.๖/๑๒ เลขที่ ๒

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น